โรคข้อเข่าเสื่อม แทบจะกลายเป็นคำคุ้นเคยสำหรับผู้สูงอายุ แต่ในทุกวันนี้ที่วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง ความสะดวกสบายต่างๆ รวมถึงอาหารการกิน ส่งผลให้โรคข้อเข่าเสื่อมมาเยี่ยมเยือนได้เร็วขึ้น ปัจจุบันเราไม่ได้พบอาการข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว แต่ในกลุ่มผู้ใหญ่ที่อายุ 45 ปีขึ้นไปก็มีโอกาสเกิดโรคได้เช่นกัน
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมและสึกหรอของผิวกระดูกอ่อนข้อเข่า ซึ่งผิวกระดูกอ่อนนี้ ในภาวะปกติทำหน้าที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อที่เรียบลื่น ไม่ติดขัด และทำหน้าที่เป็นส่วนรองรับน้ำหนักของร่างกาย
อาการข้อเข่าเสื่อมจะส่งผลให้เกิดการอักเสบของกระดูกอ่อนผิวข้อและเยื่อหุ้มข้อ ทำให้ความสามารถในการสร้างน้ำไขข้อลดลง หรือสูญเสียคุณสมบัติของน้ำไขข้อไป ส่งผลย้อนกลับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนผิวข้อบางลง และอาจหายไปทั้งหมด
ในผู้ป่วยที่ข้อเสื่อมขั้นรุนแรง ผิวข้อจะเกิดความขรุขระไม่เรียบลื่น มีกระดูกงอกเกิดขึ้นบริเวณรอบๆ ข้อ เกิดการโก่งงอเสียความสมดุลของข้อเข่ามากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับความรุนแรงของโรคที่เป็นมากขึ้น
คนไข้โรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการที่เกิดจากลักษณะกายภาพของข้อผิดปกติเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ หรือความเสื่อมที่เพิ่มมากขึ้น และบางครั้งจะเกิดอาการอักเสบเกิดขึ้น
การอักเสบมักเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วครั้งคราวในข้อเข่าที่เสื่อม เกิดขึ้นเมื่อมีการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นกับข้อเข่าที่เสื่อม เช่น เมื่อคนไข้มีการใช้งานเข่ามากๆ ไม่ว่าจะเป็น ยืน เดิน ขึ้น-ลงบันได หรือ ไปใช้งานกิจกรรมทำร้ายเข่าต่างๆ สำหรับคนไข้ที่มีอาการของโรคมากขึ้น การอักเสบอาจจะเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือ เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้คนไข้มีการใช้งานข้อเข่าที่อาการแย่ลงเรื่อยๆ ได้
กลุ่มที่ยังมีอาการข้อเข่าเสื่อมในระดับเริ่มแรก รวมถึงการป้องกันสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคนี้ สิ่งที่ควรปฏิบัติมีแนวทางง่ายๆ 3 ข้อ คือ
ในกรณีที่อาการข้อเข่าเสื่อมอยู่ในระยะรุนแรง การรักษาด้วยยาหรือการรักษาด้วยวิธีประคับประคองแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ตรงจุด ลดอาการปวดเข่า ทั้งยังทำให้คนไข้กลับมาเดิน ยืน หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
สำหรับคนที่อาการของโรคอยู่ในระยะเริ่มต้น การดูแลตัวเองร่วมด้วยการบริหารกล้ามเนื้อหัวเข่า ช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้มาก หรือหายได้ในบางรายที่อายุยังไม่มากนัก ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรง และไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการเบื้องต้น จำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับรับคำแนะนำการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีวิธีการรักษาหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้แต่ละคน
การรักษาข้อเข่าเสื่อมนับเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ เพราะอาการบาดเจ็บของแต่ละคนแตกต่างกันไป ทั้งอยู่บนความรุนแรงที่ไม่เหมือนกัน ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อม แบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ว่าแนวทางไหนเหมาะกับใคร
การรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ผ่าตัด เหมาะกับคนที่อาการของโรคอยู่ในระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง อาการไม่รุนแรง ยังไม่เจ็บปวดจากการเคลื่อนไหว หรือการใช้งานเข่า จนกระทบกระเทือนการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก
การดูแลตัวเองร่วมด้วยการรักษา จะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้มาก หรือหายได้ในรายที่อายุยังไม่มากนัก ซึ่งแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ผ่าตัด จะแบ่งออกเป็นการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต กายภาพบำบัด ออกกำลังกาย และการใช้ยาร่วมด้วย
1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
อาจจะเป็นเรื่องยาก แต่การปรับพฤติกรรมช่วยได้มากสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อม โดยหลักๆ พฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยนคือ
2. กายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย
การกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวเข่า
3. การรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการใช้ยา
หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดข้อเข่า จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วยในการรักษา ซึ่งการใช้ยาควรอยู่ในดุลยพินิจและการดูแลของแพทย์
อย่างไรก็ตาม ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ลดการอักเสบแบบชั่วครั้งชั่วคราว พอหมดฤทธิ์ยาอาการปวดก็จะกลับมาได้อีก เนื่องจากยากลุ่มนี้ไม่ได้รักษาความเสื่อมของข้อ แต่เป็นการรักษาการปวดอักเสบที่เกิดจากข้อเสื่อมเท่านั้น
การใช้ยาในกลุ่มนี้จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะเวลาที่มีอาการและใช้เพียงช่วงสั้นๆเท่านั้น ควรควบคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การลดน้ำหนัก หรือปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันที่ทำร้ายเข่าให้ลดน้อยลง
ที่สำคัญการใช้ยาลดอักเสบต้องระมัดระวังอย่างมาก เนี่องจากอาจก่อให้เกิดผลเสียได้ เมื่อใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขึ้น การทำงานของไตแย่ลง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือเกิดเลือดออกในทางเดินอาหารได้ เป็นต้น
โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ต่อเนื่องประมาณ 3-6 เดือน การใช้ยาในกลุ่มนี้มีเป้าหมายเพื่อลดปวด และลดปริมาณการใช้ยาแก้ปวด แก้อักเสบลง นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ายาช่วยชะลอการสึกหรอบางลงของกระดูกอ่อนผิวข้อได้เล็กน้อย ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ยากลูโคซามีน (Glucosamine) ยาไดอะเซรีน (Diacerein) หรือ ยาคอนดรอยติน (Chondroitin) เป็นต้น
ยากลุ่มนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกินยาแก้ปวดอักเสบได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาเกิดขึ้น หรือมีโรคประจำตัวที่ไม่สามารถกินยาได้ ซึ่งยาฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมมีหลากหลายชนิด ส่วนใหญ่จะฉีดยาเข้าช่องข้อสัปดาห์ละ 1 เข็ม โดยมีชนิดยาที่ฉีดตั้งแต่ 1 – 5 เข็ม
สารเหล่านี้ออกฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดการอักเสบได้ และมักมีการโฆษณาว่าสามารถป้องกันและรักษาข้อเสื่อมได้ด้วย อย่างไรก็ตามหลักฐานยืนยันจากการศึกษาของสารในกลุ่มนี้ยังมีอยู่น้อย ผลการศึกษามักจะไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะขึ้นทะเบียนเป็นยาที่ใช้ในการรักษาได้ หากคนไข้จะใช้เองจึงแนะนำให้ใช้โดยการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน
แนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่รักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น รวมทั้งผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง เจ็บปวดจนมีความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน ปวดมากเวลายืนเดิน ข้อเข่าหลวม หรือมองเห็นความโก่งงอของเข่าชัดเจน เป็นต้น
การผ่าตัดเพื่อรักษาข้อเข่าเสื่อมแบ่งได้เป็นสองแนวทางใหญ่ๆ คือการผ่าตัดจัดแนวกระดูกแก้ความโก่งงอของเข่า และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม
การผ่าตัดวิธีนี้เป็นการยืดอายุการใช้งานของข้อเข่าเดิมได้ต่อไปอีก แต่ต้องมีการดูแลหลังการผ่าตัดให้กระดูกติดดีก่อน จึงจะสามารถใช้งานหัวเข่าได้อย่างเต็มที่ เหมาะสำหรับคนที่อายุน้อย จำเป็นต้องใช้หัวเข่าในการเดินยืนทำงานค่อนข้างมาก
การผ่าตัดใส่ข้อเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมครอบฝังแทนที่ผิวข้อเดิมที่เสื่อม สึกหรอเดิม เนื่องจากประสบการณ์การผ่าตัดของทีมแพทย์ kdms ร่วมกับความก้าวหน้าของเครื่องมือผ่าตัด และพัฒนาการของข้อเทียม ส่งผลให้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเป็นการผ่าตัดที่ใช้เวลาสั้นลงมาก การตั้งแนวข้อและใส่ข้อแม่นยำมากขึ้น การฟื้นตัวรวดเร็วและเจ็บปวดน้อยลงอีกด้วย
อย่างไรก็ดี การรักษาข้อเข่าเสื่อมนั้นไม่ได้เป็นคำตอบที่มีเพียงแค่ถูกหรือผิด เพราะอาการของแต่ละคน รวมถึงความจำเป็นในการใช้ชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไป การปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านในการนำไปตัดสินใจเป็นสิ่งที่ผู้เจ็บป่วยควรร่วมปรึกษาแพทย์ในการวางแผนการรักษา เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดสำหรับตัวคนไข้เอง
หนึ่งในกิจกรรมโปรดของผู้สูงวัยทั้งหลาย คือการได้ไปออกกำลังกายตามสวนสาธารณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบคนเดียว หรือแบบรวมกลุ่มกันกับเพื่อน ๆ ผู้สูงอายุ ได้เดินออกกำลังกาย รำมวยจีน เต้นแอโรบิก หรือรำไทเก็ก ฯลฯ แต่เมื่อข้อเข่าเกิดเสื่อมจนมีอาการปวดรุนแรงแล้ว กิจกรรมการออกกำลังกายเหล่านี้ก็จะไม่สามารถทำได้อีก หรือทำได้เพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ เพราะแม้บางการออกกำลังอาจไม่ได้มีท่ายากมาก เป็นแค่การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ แต่ก็จะมีท่าย่อ ท่ายอง ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเข่า ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างที่เคยเป็น หรือทำได้เพียงแค่ 10 นาที ก็เจ็บปวดจนต้องถอดใจยอมแพ้ ซึ่งผลที่ตามต่อมาก็คือ เมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย น้ำหนักตัวก็จะเพิ่มขึ้น และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เพิ่มความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าให้มากขึ้นได้
วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพุทธศาสนาตั้งแต่แรกเกิด และยิ่งในช่วงบั้นปลายของชีวิต การเข้าวัดฟังธรรม ได้ทำบุญนั้น ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสงบ และความสุขอิ่มเอมอย่างมาก หากแต่เมื่อข้อเข่าเสื่อม กิจกรรมที่มีลักษณะเป็น กิจกรรมที่จะต้องอยู่กับพื้น เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ สวดมนต์ ฟังเทศน์ ฯลฯ จะไม่สามารถทำได้สะดวก คือ ไม่ได้นั่งลงแล้วเจ็บ แต่จะเจ็บปวดจนไม่สามารถที่จะล้มตัวลงนั่งกับพื้นเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ในวัดได้เลย จึงทำให้เกิดเป็นความทุกข์ที่กัดกินใจ เมื่อไม่สามารถไปวัด ทำบุญได้เหมือนที่เคย
เป้าหมายในบั้นปลายชีวิตของผู้สูงอายุทุกคน ล้วนมีเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวรวมอยู่ด้วยเสมอ เพราะทุ่มเททำงานมาทั้งชีวิต ก็เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายสุดท้ายได้อย่างอิสระที่สุด แต่ความเจ็บปวดจากอาการข้อเข่าเสื่อม ก็จะทำตัดโอกาสในการเดินทางท่องเที่ยวออกไป เพราะไม่สามารถเดินเที่ยวได้ เดินได้ไม่นานก็ต้องพัก ไม่สามารถท่องเที่ยวธรรมชาติ เดินขึ้นทางลาดชัน เดินป่า หรือต้องขึ้นบันไดเยอะ ๆ ซึ่งถ้าไปกับทัวร์ก็จะหมดสนุก ส่วนไปกับครอบครัว เพื่อนฝูงก็จะไม่สะดวก รู้สึกเป็นภาระ ทำให้ต้องตัดขาดตัวเอง ไม่ไปไหนกับเพื่อนและครอบครัว กลายเป็นความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว และโหยหาชีวิตที่สามารถเดินเหินได้อย่างที่ใจต้องการ
1. อายุที่มากขึ้น
2. น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ (ภาวะน้ำหนักเกิน หรือ โรคอ้วน)
3. การใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก ต่อเนื่องยาวนาน เช่น งานที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ, งานที่ต้องมีกิจกรรมการนั่งบนพื้น พับเพียบ นั่งยอง ย่อเข่าบ่อยๆ
4. อุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้นบริเวณข้อเข่า เช่น กระดูกหัก, กระดูกสะบ้าเข่าหัก, การฉีดขาดของเอ็นไขว้หน้า หรือหมอนรองกระดูกเข่า
5. โรคข้ออักเสบเรื้อรังต่างๆ เช่น โรครูมาตอยด์, โรคเก๊าท์ เป็นต้น
1. การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต
2. กายภาพบำบัด และการออกกำลังกาย
3. การรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยการใช้ยา
4. การฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม
5. อาหารเสริม คอลลาเจน
ขอบคุณแหล่งที่มา https://kdmshospital.com/article/knee-ostoearthritis/
©2023. The Knee Clinic Hatyai. All Rights Reserved.